วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

แสดงความคิดเห็น นาย วิชัย ลำดวนหอม

นางเอกมีความรู้ในเรื่องสาระสนเทศดี
เพราะเธอใช้อินเตอร์เน็ตค้นหาข้อมูลข่าวสารในเรื่องที่เธออยากรู้

ส่งงาน e-book นาย วิชัย ลำดวนหอม

http://www.ebook.com/ebooks/Juvenile_Fiction/The_Short_Second_Life_of_Bree_Tanner
http://www.ebook.com/ebooks/Travel/Costa_Rica_-_Culture_Smart!

ส่งงาน e-book นาย สุระไกร ซ้อนจันทร์

http://www.ebook.com/ebooks/Juvenile_Fiction/The_Clique_13_My_Little_Phony
http://www.ebook.com/ebooks/Adventure_Fiction/Daniel_X_Demons_and_Druids

ส่งงาน e book นาย จรัสพงศ์ จงรักษ์

http://www.thaiebook.org/index.php?tpid=pro:999-99-36-001
http://www.thaiebook.org/index.php?tpid=pro:999-99-35-023
http://www.thaiebook.org/index.php?tpid=pro:999-99-35-024

แสดงความคิดเห็น นาย สุระไกร ซ้อนจันทร์

นางเอกของเรื่องรู้จักสารสนเทศ
เพราะเธอดูเรื่องในcoogleและทำไห้เธอรู้ควายจริง

ข่าวประจำสัปดาห์ที่11

FBI เปิดศึกวิกิพีเดีย?
reported by chayaninw

4 Aug 2010 - 07:31
tags: FBI USA Wikimedia Foundation Wikipedia
เกิดศึกโต้เถียงกันเล็กน้อย ระหว่างสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ ที่รู้จักกันในนาม FBI กับสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย เกี่ยวกับการใช้ภาพตราของสำนักงานในหน้าบทความของวิกิพีเดีย
เมื่อเดือนที่ผ่านมา สำนักงานสอบสวนกลางได้ส่งจดหมายไปยังมูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลสารานุกรมวิกิพีเดีย ให้นำภาพตราของเอฟบีไอ ออกจากหน้าบทความในสารานุกรม โดยขู่ที่จะดำเนินคดีตามกฎหมายหากไม่ปฏิบัติตาม (ดูไฟล์จดหมายได้จากที่มา)
อย่างไรก็ตาม วิกิมีเดียได้ตอบโต้ว่า กฎหมายที่ถูกนำมาอ้างถึงนั้น เกี่ยวข้องกับการห้ามนำตราปลอมไปใช้แสดงตัวหรือหาประโยชน์ต่างหาก และเว็บไซต์อื่นๆ ก็แสดงตราแบบนี้เหมือนกัน รวมถึงสารานุกรมบริทานิกาด้วย ผู้บริหารวิกิมีเดียกล่าวว่า พร้อมที่จะโต้แย้งเรื่องนี้ในชั้นศาล
ด้านโฆษกของเอฟบีไอกล่าวว่า มีการส่งจดหมายลักษณะนี้อยู่เป็นระยะๆ อยู่แล้ว และตามกฎหมายแล้ว ใครก็ตามไม่สามารถใช้ตราสัญลักษณ์ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเอฟบีไอ
ด้านผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของ Electronic Frontier Foundation (EFF – องค์กรที่เรียกร้องเรื่องสิทธิเสรีภาพในโลกดิจิทัล) บอกว่านี่เป็นเรื่องงี่เง่ามาก และวิกิพีเดียก็มีสิทธิตาม First Amendment (บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ที่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก) ที่จะแสดงตรานี้ นอกจากนี้ยังกล่าวเสริมว่า เอฟบีไอน่าจะมีอะไรที่สำคัญกว่านี้ทำ
ที่มาhttp://www.blognone.com/news/17795

ข่าวประจำสัปดาห์ที่10

10 เรื่องที่คุณ(อาจ)ไม่รู้เกี่ยวกับวิกิพีเดียposted on 18 Feb 2008 11:57 by itshee in Wikipedia

ถ้าพูดถึง วิกิพีเดีย (Wikipedia) ยุคนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก ย้อนไปเมื่อปี 2549 นิตยสารไทม์ได้มีการประกาศ "บุคคลสำคัญประจำปี" ซึ่งได้แก่ "ตัวคุณเอง" (You) โดยอ้างให้เหตุผลว่า "คุณทุกคน" มีส่วนในการสร้าง content ในลักษณะของการสร้างเว็บ 2.0 ในเว็บไซต์ต่างๆ อาทิ วิกิพีเดีย ยูทูบ และมายสเปซ ซึ่งทำให้เว็บไซต์เหล่านี้ประสบความสำเร็จขึ้นได้ จากการร่วมมือของบุคคลหลายล้านคนทั่วโลก ไม่ว่าวิกิพีเดียอังกฤษที่มีเนื้อหาอัดแน่น หรือวิกิพีเดียไทยที่กำลังจะโต รอหน่อยนาาาา ด้านล่างนี้เป็นเรื่องบางเรื่องที่คุณอาจไม่รู้
วิกิพีเดียเป็นเว็บที่ใครก็สามารถแก้ไขได้ - มีหลายคนมากที่ไม่รู้ว่าตัวคุณเองสามารถร่วมแก้ไขได้ ไม่ว่าจะล็อกอินหรือไม่ก็ตาม
ใครก็สามารถนำไปใช้+ขายได้ - วิกิพีเดียเปิดให้ทุกคนเอาไปใช้ ไม่ใช่แค่อ่าน ไม่ว่าจะเอาไปลงเว็บ หรือเอาไปตีพิมพ์ก็ได้หมด ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีการอ้างกลับมาและยอมรับการใช้เงื่อนไขด้านลิขสิทธิ์แบบ GFDL
ถ้าจะเอาเนื้อหาไปใช้ มีเว็บให้โหลดได้ทันที ไม่ต้องไปก็อปทีละบทความ (เหมือนอย่างที่เว็บไทยบางที่กำลังทำอยู่) สำหรับข้อมูลแบบ XML หรือ SQLโหลดได้ที http://download.wikimedia.org/backup-index.html สำหรับข้อมูลแบบ HTML โหลดได้ที่ http://static.wikipedia.org/
วิกิพีเดียมีฉบับภาษาไทยด้วยนะอยู่ที่ http://th.wikipedia.org/ และมากไปกว่านั้น ปีที่แล้วมีนิสิต ป.โท นิเทศ จุฬาฯ ทำวิทยานิพนธ์เรื่องวิกิพีเดียไทย ในหัวข้อ "สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทยและการสื่อสารความรู้สู่สาธารณะ"
วิกิพีเดียมีการเชื่อมโยงระหว่างภาษาถึงกันหมด โดยตัวลิงก์จะอยู่ใต้เมนูด้านซ้ายของแต่ละหน้า ถ้าอ่านในวิกิพีเดียไทยแล้วเนื้อหาน้อย ก็กดเข้าไปอ่านในภาษาอื่นไม่ว่า อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส หรือญี่ปุ่นได้ (ผมอ่านออกแต่ภาษาอังกฤษ)
วิกิพีเดียไทยก็ใช่ย่อย อยู่อันดับต้นๆ ในวิกิพีเดียทั้งหมด 256 ภาษา
อันดับ 17 - คุณภาพของระบบวิกิพีเดีย [depth = 57]
อันดับ 23 - จำนวนคนลงทะเบียน (ความนิยม) [users = 39,054]
อันดับ 29 - จำนวนแอดมิน [admins = 19] แต่ถ้านับจริงคงไม่ถึงสิบคน คงได้อันดับ 55 เพราะหลายคนเลิกไปแล้วแต่ยังมีชื่ออยู่
อันดับ 39 - จำนวนบทความ [article =32,110]
... พวกที่อยู่อันดับต้นตารางส่วนใหญ่ก็จะเป็น วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน อย่างไรก็ตามในระดับเอเชีย วิกิพีเดียไทยก็ยังแพ้ เวียดนาม -__-" ที่มี depth = 122 (อันดับ 4), users = 64,415 (อันดับ 15)
วิกิพีเดียไทยมีลักษณะเด่นที่วิกิพีเดียอื่นไม่มีคือ มีย่อหน้า ซึ่งจัดรูปแบบเหมือนบทความภาษาไทยอัตโนมัติ ผ่านทาง CSS: text-indent ไม่เชื่อลองไปเขียนดู ย่อหน้าเข้ามาให้อัตโนมัติ สวยงาม
คนเขียนวิกิพีเดียไทยมีหลากหลายมาก ตั้งแต่ นักเรียนประถม นักศึกษา ถึงระดับศาสตราจารย์ (ยังไม่เคยเห็นใครเคลมว่าเป็นเด็กอนุบาล) นักเรียนธรรมดา(อย่างเรา) นักเขียนการ์ตูน นักแปลการ์ตูน นักข่าว นักกีฬา พระสงฆ์ ทหาร ตำรวจ สถาปนิก วิศวกร หรือนักประพันธ์ดนตรีระดับโลก มีหมด
คนเขียนวิกิพีเดียไม่ได้เงิน คนเขียนส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัคร ไม่ได้รับค่าตอบแทนใด เว้นแต่บางกรณีที่นานๆ ที ก็มีอาจารย์บางท่านสั่งเด็กให้มาเขียนวิกิพีเดียไทย สังเกตได้จากชื่อล็อกอินเป็นรหัสนักศึกษาเลย
เป็นแอดมินวิกิพีเดียก็ไม่ได้เงิน หนำซ้ำบางวันก็โดนด่าฟรีอีกจากคนอ่านบ้าง คนเขียนบ้าง และแอดมินแทงกันข้างหลังบ้าง เหอเหอ ป.ล. สำหรับรูปด้านขวาเป็นไอคอนของวิกิอะนิเมะ ชื่อว่า ウィキペたん (วิกิเพตัง หรือ วิกิพีตัง ก็ว่าไป) โดยภาพนี้เป็นวิกิพีตังในชุดมิโกะ
ที่มาhttp://itshee.exteen.com/20080218/entry-1

ข่าวประจำสัปดาห์ที่9

ยามนี้ใครไม่รู้จักกับวิกิพีเดีย ไม่ได้แล้ว ... มันคืออะไร?



Wednesday, 18 November 2009 00:07
วิกิพีเดีย (Wikipedia) คือสารานุกรมออนไลน์หลายภาษาที่แจกจ่ายในลักษณะเนื้อหาเสรี บริหารงานโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย คำว่า "วิกิพีเดีย" มีที่มาของชื่อการผสมคำของคำว่า "วิกิ"
(wiki) ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเว็บไซต์ที่ร่วมกันปรับปรุง และคำว่า "เอนไซโคลพีเดีย" (encyclopedia) ที่แปลว่าสารานุกรม



วิกิพีเดียเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 โดย จิมมี เวลส์ และ แลร์รี แซงเจอร์ เป็นสารานุกรมที่ร่วมกันสร้างขึ้นโดยผู้อ่าน มีคนหลายๆ คนร่วมกันปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ แม้แต่คุณก็แก้ได้ โดยบทความจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกๆ การแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติ ซึ่งจะเก็บไว้ทุกครั้งและตลอดไปโดย ในปัจจุบันวิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ที่ใหญ่และเติบโตเร็วที่สุดในโลก
ปัจจุบันวิกิพีเดียบริหารโดยองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรชื่อ มูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation) ข้อมูลเดือนธันวาคม 2550 วิกิพีเดียมีเนื้อหากว่า 9 ล้านบทความใน 253 ภาษา ประกอบด้วยข้อความกว่า 17,400 ล้านคำ เฉพาะในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ มีเนื้อหามากกว่า 2,000,000 เรื่อง เนื้อหาในวิกิพีเดียเกิดขึ้นโดยการร่วมเขียนจากอาสาสมัครจากทั่วโลก โดยเว็บไซต์เปิดให้ทุกคนสามารถร่วมแก้ไขได้อย่างอิสระ ซึ่งในปัจจุบันวิกิพีเดียได้รับความนิยมเป็น 1 ใน 10 เว็บไซด์ที่มีผู้ใช้สูงที่สุดในโลก ชื่อเสียงของวิกิพีเดียก่อให้เกิด “โครงการพี่น้อง” หลายโครงการ และได้รับการกล่าวถึงในสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

วิกิพีเดียภาษาไทย (http://th.wikipedia.org) ก็ไม่น้อยหน้าเวอร์ชั่นอังกฤษ แม้ว่าจะเพิ่งเริ่มเมื่อปี 2546 สารานุกรมไหนบ้างที่รวบรวมคำอธิบายระบบโซตัส การ์ตูนญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งจีฉ่อย ร้านโชห่วยชื่อดัง ไว้ในที่เดียวกัน และที่ยิ่งไปกว่านั้นคือให้คุณอ่าน แก้ไข และต่อเติมได้ตามใจชอบ สารานุกรม หมวดต่างที่มีในวิกิพีเดียภาษาไทย ได้แก่ หมวด
ธรรมชาติ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เทคโนโลยี ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ สังคม ประเทศไทย สถานีย่อย บทความคัดสรร เป็นต้น

วิกิพีเดียไทย อันดับเพิ่มขึ้นอีกแล้ว
ความนิยมวิกิพีเดียไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกแล้ว โดยเดือนที่ผ่านมาการเข้าชมวิกิพีเดียก็ทะลุหนึ่งล้านไปแล้ว โดยตามสถิติการใช้งาน วิกิพีเดียไทยขึ้นมาเป็นอันดับที่ 16 ของโลก (จากวิกิพีเดีย 240 ภาษา) ปีที่แล้วอยู่อันดับประมาณ 20 ได้ โดยในเดือนหน้าวิกิพีเดียภาษาไทยจะครบ 50,000 ซึ่งหลายคนก็แทงกันว่าทายกันว่าจะครบในวันที่เท่าไร
ฝั่งวิกิพีเดียอังกฤษก็มีบทความ 3,000,000 เรื่องไปแล้ว ในขณะที่วิกิพีเดียภาษาอื่นก็พัฒนากันตลอด ซึ่งถ้าดูสถิติวิกิพีเดียเพื่อนบ้าน (ให้เกาหลีกับญี่ปุ่นเป็นเพื่อนบ้านด้วย เพราะใกล้ชิดกับชาวไทยกันขนาด)
บ้านด้วย เพราะใกล้ชิดกับชาวไทยกันขนาด)
วิกิพีเดีย
การเข้าชมต่อวัน
จำนวนบทความ
ผู้สมัคร
วิกิพีเดียญี่ปุ่น
35 ล้าน (2)
610,323 (5)
338,394
วิกิพีเดียจีน
2.5 ล้าน (11)
268,803 (12)
684,453
วิกิพีเดียไทย
1 ล้าน (16)
49,709 (42)
71,945
วิกิพีเดียอินโดนีเซีย
9.7 แสน (18)
108,775 (26)
120,265
วิกิพีเดียเกาหลี
9 แสน (21)
109,346 (25)
80,665
วิกิพีเดียเวียดนาม
6.9 แสน (23)
96,641 (28)
128,937
วิกิพีเดียมาเลเซีย
2.2 แสน (37)
46,579 (43)
41,820
ถ้าเทียบอันดับแล้ว ไทยเรานี่ถือว่าอันดับสามของเพื่อนบ้านเลยทีเดียว รองลงมาจากญี่ปุ่นและจีน โดยแซงหน้าเกาหลีซะอีก แต่ถ้าดูตามปริมาณแล้ว ของไทยเรานี่ค่อนข้างน้อยเลยทีเดียว ซึ่งถ้าดูลงไปถึงตัวเลข จะเห็นว่าจำนวนบทความของไทยเราก็ไม่ถือว่าเยอะ ถ้าเทียบอินโดนีเซียหรือเวียดนามที่มีจำนวนมากกว่าสองเท่าได้ แต่จำนวนคนใช้งานจริงน้อย หรือถ้าเทียบวิกิพีเดียมาเลเซีย ที่จำนวนเท่าวิกิพีเดียไทยเรา แต่คนดูของเรามากกว่า 5 เท่า ก็แสดงถึงคุณภาพได้พอควรเลยทีเดียว


คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้อย่างไร
คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้หลากหลายอย่าง หาอะไรที่สามารถปรับปรุงได้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา การเขียนและการใช้ภาษา หรือว่าการจัดรูปแบบ ถ้าอ่านแล้วรู้สึกติดขัด อาจจะขัดเกลาภาษาเพิ่ม เมื่ออ่านแล้วรู้สึกว่าควรเติมเนื้อหา คุณสามารถเพิ่มเติมได้อย่างง่ายดาย และไม่ต้องห่วงเลยว่าจะทำให้วิกิพีเดียเสียหาย เพราะว่าทุกอย่างสามารถแก้ไขหรือปรับปรุงไปได้เรื่อย ๆ ดังนั้น เริ่มทำได้ มาช่วยกันแก้บทความ และทำให้วิกิพีเดียเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดในอินเทอร์เน็ตกันเถอะ ลองดูส่วนหนึ่งที่คุณช่วยวิกิพีเดียได้ในหน้า คุณช่วยเราได้ และอย่ากลัวที่จะแก้ไขบทความบนวิกิพีเดีย — สารานุกรมที่ใครก็สามารถช่วยเขียนได้ และยิ่งไปกว่านี้ ทางเรายังสนับสนุนให้ผู้ใช้ กล้าแก้ไข
ที่มาhttp://www.gracezone.org/index.php/technology/684-2009-11-17-17-43-00

ข่าวประจำสัปดาห์ที่8

วิกิพีเดียคืออะไร
วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมที่ร่วมกันสร้างขึ้นโดยผู้อ่าน มีคนหลายๆ คนร่วมกันปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ แม้แต่คุณก็แก้ได้ โดยบทความจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกๆ การแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติ ซึ่งจะเก็บไว้ทุกครั้งและตลอดไป

จะช่วยในงานและชีวิตประจำวันได้อย่างไรคุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้หลากหลายอย่าง หาอะไรที่สามารถปรับปรุงได้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา การเขียนและการใช้ภาษา หรือว่าการจัดรูปแบบ ถ้าอ่านแล้วรู้สึกติดขัด อาจจะขัดเกลาภาษาเพิ่ม เมื่ออ่านแล้วรู้สึกว่าควรเติมเนื้อหา คุณสามารถเพิ่มเติมได้อย่างง่ายดาย และไม่ต้องห่วงเลยว่าจะทำให้วิกิพีเดียเสียหาย เพราะว่าทุกอย่างสามารถแก้ไขหรือปรับปรุงไปได้เรื่อย ๆ ดังนั้น เริ่มทำได้ มาช่วยกันแก้บทความ และทำให้วิกิพีเดียเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดในอินเทอร์เน็ตกันเถอะ ลองดูส่วนหนึ่งที่คุณช่วยวิกิพีเดียได้ในหน้า คุณช่วยเราได้ และอย่ากลัวที่จะแก้ไขบทความบนวิกิพีเดีย — สารานุกรมที่ใครก็สามารถช่วยเขียนได้ และยิ่งไปกว่านี้ ทางเรายังสนับสนุนให้ผู้ใช้ กล้าแก้ไข
ที่มาhttp://ferinboy.exteen.com/20080128/entry

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส่งงานe-Journals

http://www.mediafire.com/?4r1ko2i0wod3daw

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

ภาษาอังกฤษ (อังกฤษ: English language) เป็นภาษาตระกูลเจอร์เมนิกตะวันตก มีต้นตระกูลมาจากอังกฤษ เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแรกมากที่สุดเป็นอันดับ 3 (พ.ศ. 2545: 402 ล้านคน) ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลาง (lingua franca) เนื่องจากอิทธิพลทางทหาร เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพราะว่าภาษาอังกฤษนั้นได้เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อผู้คนในหลากหลายอาชีพ ซึ่งบางอาชีพต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษมาช่วยประสานงาน ทำให้งานทุกอย่างนั้นง่ายราบรื่นและสำเร็จลงไปได้ด้วยดี

คำว่า อังกฤษ ในภาษาไทย มีที่มาจากคำอ่านของคำว่า Inggeris ในภาษามลายูที่ยืมมาจาก anglais (English) ( /ɑ̃glɛ/ (ข้อมูล)) ในภาษาฝรั่งเศส

ภาษาอังกลิช/แองกลิช (Angles) เป็นภาษาโบราณซึ่งใช้กันในชนชาติแองโกลที่อพยพสู่เกาะบริเตน และเป็นหนึ่งในภาษาแบบฉบับของภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้น หากพูดถึงภาษาแองกลิชแล้ว ก็ต้องระวังเสียงพ้องกับคำว่า ภาษาอังกฤษ
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำที่6

ยินดีต้อนรับสู่ วิกิซอร์ซ เว็บไซต์นี้เป็นที่รวบรวมแหล่งข้อมูลในทุกๆ ภาษาที่เป็นสาธารณสมบัติ หรืออนุญาตให้ใช้ได้ภายใต้สัญญาแบบ GFDL เว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิวิกิมีเดียและเป็นโครงการพี่น้องกับวิกิพีเดียซึ่งเปิดเสรี ปัจจุบันวิกิซอร์ซมีเนื้อหาภาษาไทยทั้งหมด 13,242 หน้า และมีผู้ใช้ 1,320 คน

เอกสารราชการ
รัฐธรรมนูญ
รธน.แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐
รธน.แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ๒๕๔๙
รธน.แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐
พระราชบัญญัติ
พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ. ๒๕๓๗
พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง ฯ พ.ศ. ๒๕๔๓
พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๕๑
พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑
พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๕๑
พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑
พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
ประกาศคณะปฏิวัติ
ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑
ประกาศคณะรัฐประหาร
ประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองฯ พ.ศ. 2549
คำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลอาญา
คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ
คำพิพากษาตุลาการรัฐธรรมนูญคดียุบพรรคการเมืองเนื่องจากการเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549
คำพิพากษาคดียึดทรัพย์ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
เอกสารอื่น ๆ
ชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามผู้ใดมีไว้ครอบครอง พ.ศ. 2520
รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบสัดส่วน ทั้ง 8 กลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2550
รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 จำแนกรายเขตเลือกตั้ง
แหล่งข้อมูลต้นฉบับ
กฎหมาย
หนังสือรวมกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลฉบับสมบูรณ์
หนังสือกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ ฉบับสมบูรณ์
ประมวลกฎหมายอาญา
กฎหมายควบคุมอาคาร
ศาสนา
พระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎก (ภาษาไทย)
บทสวดมนต์และพระคาถา
อรรถกถาพระสูตร (ภาษาไทย)
รวบรวมธรรมะ
หนังสือธรรมะ
หนังสือหลักสูตรเรียนธรรม
คริสต์ศาสนา
ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร
พระสมณสาสน์ว่าด้วยการทำงาน
พันธสัญญาเดิม
พันธสัญญาใหม่
ศาสนาอิสลาม
อัลกุรอาน (สำนวนแปลสมาคมศิษย์เก่าอาหรับ)
อัลกุรอาน (สำนวนแปลอะบูอิสรอฟีล)
เศรษฐกิจและสังคม
จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน
พระราชสุนทรพจน์ของมกุฎราชกุมาร ตองสา เพ็นลอป จิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุกแห่งราชอาณาจักรภูฏาน
ประวัติศาสตร์
โบราณคดี
ศิลาจารึก
พงศาวดาร
ตำนาน
ประวัติ
คำไว้อาลัย
พระราชวงศ์ไทย
กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
พระบรมราชโองการ
พระราชดำรัส
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2536
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2537
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2538
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2539
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2540
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2541
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2542
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2543
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2544
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2545
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2546
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2547
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2548
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2549
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2550
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2551
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพ.ศ. 2552
พระราชหัตถเลขา
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - วิจารณ์หนังสือพิมพ์
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบรมราโชวาท
พระบรมราโชวาทใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ โรงเรียนจิตรลดา
แถลงการณ์สำนักพระราชวัง
วรรณคดี
พระราชนิพนธ์ - ไกรทอง - นิราศพระบาท - สมบัติอมรินทร์คำกลอน - ลิลิตเพชรมงกุฎ - โองการแช่งน้ำ - กฤษณาสอนน้อง - นิราศวัดเจ้าฟ้า - พระมะเหลเถไถ - ระเด่นลันได - โคลงโลกนิติ - กาพย์เห่เรือ - นิราศนรินทร์ - สรรพลี้หวน - ลิลิตตะเลงพ่าย - บทอาขยาน - ไตรภูมิพระร่วง - นิราศภูเขาทอง - นิราศอิเหนา - สี่แผ่นดิน - มหาเวสสันดรชาดก ฉบับวิงวอนหลวง - นิทานเวตาล - รำพันพิลาป - โคลงภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์
เพลง
เพลงชาติไทย
เพลงชาติสยาม
เพลงพระราชนิพนธ์
เพลงเฉลิมพระเกียรติพระพี่นาง
เพลงลอยกระทง
เพลงปลุกใจ
เพลงปีใหม่
เพลงคริสต์มาส
เพลงมาร์ชดำแดง
ที่มาhttp://th.wikisource.org/wiki/

ข่าวสารประจำที่5

FBI เปิดศึกวิกิพีเดีย?
เกิดศึกโต้เถียงกันเล็กน้อย ระหว่างสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ ที่รู้จักกันในนาม FBI กับสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย เกี่ยวกับการใช้ภาพตราของสำนักงานในหน้าบทความของวิกิพีเดีย

เมื่อเดือนที่ผ่านมา สำนักงานสอบสวนกลางได้ส่งจดหมายไปยังมูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลสารานุกรมวิกิพีเดีย ให้นำภาพตราของเอฟบีไอ ออกจากหน้าบทความในสารานุกรม โดยขู่ที่จะดำเนินคดีตามกฎหมายหากไม่ปฏิบัติตาม (ดูไฟล์จดหมายได้จากที่มา)

อย่างไรก็ตาม วิกิมีเดียได้ตอบโต้ว่า กฎหมายที่ถูกนำมาอ้างถึงนั้น เกี่ยวข้องกับการห้ามนำตราปลอมไปใช้แสดงตัวหรือหาประโยชน์ต่างหาก และเว็บไซต์อื่นๆ ก็แสดงตราแบบนี้เหมือนกัน รวมถึงสารานุกรมบริทานิกาด้วย ผู้บริหารวิกิมีเดียกล่าวว่า พร้อมที่จะโต้แย้งเรื่องนี้ในชั้นศาล

ด้านโฆษกของเอฟบีไอกล่าวว่า มีการส่งจดหมายลักษณะนี้อยู่เป็นระยะๆ อยู่แล้ว และตามกฎหมายแล้ว ใครก็ตามไม่สามารถใช้ตราสัญลักษณ์ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเอฟบีไอ

ด้านผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของ Electronic Frontier Foundation (EFF – องค์กรที่เรียกร้องเรื่องสิทธิเสรีภาพในโลกดิจิทัล) บอกว่านี่เป็นเรื่องงี่เง่ามาก และวิกิพีเดียก็มีสิทธิตาม First Amendment (บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ที่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก) ที่จะแสดงตรานี้ นอกจากนี้ยังกล่าวเสริมว่า เอฟบีไอน่าจะมีอะไรที่สำคัญกว่านี้ทำแน่ๆ

ที่มา – The New York Times

ข่าวสารประจำที่4

วิกิพีเดียภาษาไทย เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาไทย เริ่มสร้างเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ปัจจุบันมีบทความสารานุกรมกว่า 6 หมื่นบทความ (พฤษภาคม 2553) มีสมาชิกลงทะเบียนมากกว่า 8 หมื่นบัญชี และมีการแก้ไขเนื้อหามากกว่า 2 ล้านครั้ง

วิกิพีเดียภาษาไทยเป็นสารานุกรมออนไลน์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยให้ความนิยมอย่างมาก จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยโดย มนัสชล หิรัญรัตน์ เมื่อ พ.ศ. 2550 พบว่าประมาณร้อยละ 80 เข้าใช้วิกิพีเดียภาษาไทยอย่างน้อยเดือนละครั้ง และประมาณร้อยละ 27 เคยมีส่วนร่วมในการปรับปรุงเนื้อหา[1]

เนื้อหา:
1. ลักษณะเฉพาะ
2. ลำดับเหตุการณ์
3. สถิติ
4. อ้างอิง
5. ดูเพิ่ม
6. แหล่งข้อมูลอื่น


วิกิพีเดียภาษาไทย

เว็บไซต์ http://th.wikipedia.org/
เชิงพาณิชย์? ไม่ใช่
ประเภทเว็บไซต์ สารานุกรมออนไลน์
สมัครสมาชิก? ไม่จำเป็น
ภาษา ภาษาไทย
เจ้าของ มูลนิธิวิกิมีเดีย
ผู้ก่อตั้ง ชุมชนชาววิกิไทย
ที่มาhttp://wapedia.mobi/th

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หัวข้อโปรเจ็ก

คลิกที่นี้

ข่าวสารประจำที่3

วิกิพีเดียคืออะไร


กด แก้ไข ที่ด้านบนสุดของหน้าใดก็ได้ เพื่อแก้ไขบทความวิกิพีเดีย คือ สารานุกรมที่ร่วมกันสร้างขึ้นโดยผู้อ่าน เป็นเว็บไซต์แบบพิเศษที่เรียกว่า วิกิ ในลักษณะที่ร่วมกันแก้ไขเป็นไปได้อย่างง่ายดาย มีหลายคนร่วมปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งคุณก็สามารถร่วมแก้ไขได้ บทความจะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกการแก้ไข ซึ่งการแก้ไขทุกครั้งถูกเก็บไว้ทั้งหมดในส่วนของประวัติในแต่ละหน้า

จะช่วยได้อย่างไร

อย่ากลัวที่จะแก้ไขบทความบนวิกิพีเดีย — ทุกคนสามารถแก้ไขในทุกหน้าของวิกพิเดียด้วย ทางเราขอสนับสนุนให้คุณกล้าที่จะแก้ไขบทความ! คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้หลายทางมากและพัฒนาให้วิกิพีเดียดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา การเขียน และการใช้ภาษา หรือการจัดรูปแบบ แม้กระทั่งขัดเกลาภาษาเพิ่ม คุณยังสามารถเพิ่มเติมเนื้อหาได้อย่างง่ายดาย

ลองดูส่วนหนึ่งที่คุณช่วยวิกิพีเดียได้ในหน้า คุณช่วยเราได้

พึงจำไว้ว่า – คุณไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะทำให้วิกิพีเดียเสียหายโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะว่าทุกอย่างสามารถแก้ไขข้อผิดพลาด ปรับปรุง หรือพัฒนาได้ตลอดเวลา ดังนั้น มาช่วยกันทำให้วิกิพีเดียเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดในอินเทอร์เน็ตกันเถอะ!

โปรดใส่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ – ทางเราขอความกรุณาให้คุณเพิ่มข้อเท็จจริงเท่านั้น (เราปฏิเสธไม่รับความคิดเห็น) และเพิ่มแหล่งอ้างอิงซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง หรือคุณอาจอภิปรายร่วมกับผู้ใช้คนอื่นในหน้าอภิปรายของบทความ

บริจาค – วิกิพีเดียให้บริการแก่คุณโดยไม่คิดค่าบริการ แต่วิกิพีเดียขึ้นอยู่กับการบริจาคและเงินอุดหนุนด้วยเช่นกัน โปรดช่วยกันบริจาคผ่านทางลิงก์ บริจาคให้วิกิพีเดีย ทางด้านซ้ายมือเพื่อช่วยเหลือค่าดำเนินการและการขยายโครงการเพิ่มเติม

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบไฟฟ้าจุดระเบิด การตั้งไฟ องศาการจุดระเบิด มุมดแวล

ระบบจุดระเบิด (ignition system)
หน้าที่ของระบบจุดระเบิดคือ การจ่ายประกายไฟเพื่อจุดระเบิดไอดีภายในกระบอกสูบตามจังหวะการจุดระเบิดที่เหมาะสมของเครื่องยนต์
องค์ประกอบที่ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างสมบูรณ์เต็มประสิทธิภาพ
กำลังอัดของเครื่องยนต์สูง
จังหวะจุดระเบิดเหมาะสมและประกายไฟแรง
ส่วยผสมน้ำมันกับอากาศดี
การทำงานของระบบจุดระเบิดที่ดี
ประกายไฟแรง แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะต้องสูงพอสามารถจุดประกายไฟระหว่างเขี้ยวหัวเทียนได้
จังหวะการจุดระเบิดที่เหมาะสม ต้องมีระยะเวลาในการจุดระเบิดที่เหมาะสมกับความเร็วรอบของเครื่องยนต์ และภาระ
มีความทนทาน ต้องมีความทนทานต่อการสั่นสะเทือนและความร้อนของเครื่องยนต์
ระบบจุดระเบิดประกอบด้วย แบตเตอรี่ สวิทช์จุดระเบิด คอยล์จุดระเบิด ทองขาว คอนเดนเซอร์ จานจ่าย สายไฟแรงสูง และหัวเทียน แบ่งเป็น 2 วงจร
วงจรไฟแรงต่ำ(low-tension circuit) เริ่มต้นที่แบตเตอรี่จ่ายพลังงานไฟฟ้าแรงเคลื่อน 12 โวลต์ ผ่านสวิตช์จุดระเบิดไปยังคอยล์จุดระเบิดด้านขดลวดปฐมภูมิ ไปหน้าทองขาวในจานจ่าย
วงจรไฟแรงสูง(high-tension circuit) เริ่มต้นจากขดลวดทุติยภูมิของคอยล์จุดระเบิดไปยังฝาครอบจานจ่าย หัวโรเตอร์ สายไฟแรงสูง และหัวเทียน
คอยล์จุดระเบิด (ignition coil)
ทำหน้าที่เช่นเดียวกับหม้อแปลง จะเพิ่มแรงเคลื่อนต่ำจาก 12 โวลต์ เป็นเคลื่อนไฟแรงสูงถึง 18,000 - 25,000 โวลต์ เพื่อให้แรงเคลื่อนไฟฟ้ากระโดดข้ามเขี้ยวหัวเทียน ภายในคอยล์จะประกอบด้วยขดลวดปฐมภูมิพันด้วยลวดทองแดงขนาดใหญ่ทับขดลวดทุติยภูมิประมาณ 150-300 รอบ ส่วนขดลวดทุติยภูมิพันด้วยลวดทองแดงขนาดเล็ก โดยพันรอบแกนเหล็กอ่อนประมาณ 20,000 รอบ มีกระดาษบางคั่นอยู่ระหว่างขดลวดทั้งสองเพื่อป้องกันการลัดวงจร ปลายด้านหนึ่งของขดลวดปฐมภูมิจะต่ออยู่กับขั้วบวก ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งจะต่อเข้ากับขั้วลบ สำหรับขดลวดทุติยภูมิจะต่อปลายด้านหนึ่งเข้ากับขดลวดปฐมภูมิทางขั้วบวกอีกด้านหนึ่งจะต่ออยู่กับขั้วไฟแรงสูง น้ำมันทำหน้าที่เป็นฉนวนและช่วยระบายความร้อน
หลักการที่ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟแรงสูง
การเหนี่ยวนำตัวเอง(self-induction effect) เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลเข้าไปในขดลวดจนเต็มและถูกตัดวงจรอย่างทันทีทันใด สนามแม่เหล็กจะยุบตัวลงตัดกับขดขวลวดเกิดการเปลียนแปลงการเหนี่ยวนำของแม่แรงเหล็กของขดลวดทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าขึ้น
การเหนี่ยวนำร่วม(mutual induction effect) เมื่อขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิถูกพันอยู่รอบ ๆ แกนเหล็กอ่อนเดียวกัน เมื่อขดลวดปฐมภูมิถูกตัดวงจรอย่างทันทีทันใดจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเส้นแรงแม่เหล็กโดยเส้นแรงแม่เหล็กยุบตัวทำให้ขดลวดทุติยถูมิเกิดแรงดันไฟฟ้าขึ้น
แรงดันไฟฟ้าที่เกิดจากการเหนี่ยวนำจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
จำนวนของเส้นแรงแม่เหล็ก เส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้นในขดลวดมากแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดจากการเหนี่ยวนำก็จะมาก
จำนวนรอบของขดลวด จำนวนรอบของขดลวดทุติยภูมิมาก ก็จะเกิดการเหนี่ยวนำเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้สูง
ความเร็วในการเปลี่ยนแปลงเส้นแรงแม่เหล็ก เพื่อที่จะได้รับแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงในระหว่างการเหนี่ยวนำร่วม กระแสไฟที่ไหลในวงจรขดลวดปฐมภูมิจะต้องมากและจะต้องถูกตัดวงจรอย่างทันทีทันใด
คอยล์จุดระเบิดแบบมีความต้านทานภายนอก ตัวต้านทานต่ออนุกรมกับขดลวดปฐมภูมิ จะใช้ขอลวดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้จำนวนรอบลดลงความต้านทานลดลงกระไฟฟ้าไหลเข้าได้มากและเร็ว การนำความต้านทานภายนอกมาต่ออนุกรมกับขดลวดปฐมภูมิก็เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าไหลเข้าขดลวดมากเกินไปเมื่อความเร็วรอบเครื่องยนต์ต่ำจะทำให้คอยล์ร้อนจนอาจเสียหายได้

จานจ่าย (distributor)
ทำหน้าที่ให้หน้าทองขาวเป็นสวิตช์ปิด-เปิดของวงจรปฐมภูมิทำให้เกิดการเหนี่ยวนำเกิดแรงเคลื่อนไฟแรงสูง จานจ่ายจะจ่ายแรงเคลื่อนไฟสูงจากคอยล์ไปยังกระบอกสูบตามจังหวะการจุดระเบิดของเครื่องยนต์
จานจ่ายจะประกอบด้วย ฝาจานจ่าย โรเตอร์ ชุดหน้าทองขาว คอนเดนเซอร์ ชุดกลไกจุดระเบิดล่วงหน้าแบบสุญญากาศ แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์
ชุดหน้าทองขาว (breaker section)
ทำหน้าที่ในการตัดต่อวงจรไฟปฐมภูมิ ประกอบด้วย 2 ส่วน
ส่วนที่อยู่กับที่ ส่วนนี้จะต่อลงดิน
ส่วนที่เคลื่อนที่ จุดหมุนของส่วนนี้จะมีฉนวนป้องกันการลงดิน ส่วนนี้จะต่อโดยตรงกับขดลวดปฐมภูมิในคอยล์จุดระเบิดและจะมีไฟเบอร์ทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังจากลูกเบี้ยวของจานจ่ายเพื่อทำหน้าที่ปิด - เปิดหน้าทองขาว สปริงแผ่นของหน้าทองขาวจะทำหน้าที่ปิดหน้าทองขาวให้สนิท
มุมดแวล (dwell angle)
คือมุมของลูกเบี้ยวจานจ่ายในตำแหน่งที่หน้าทองขาวปิด ในเครื่องยนต์ 4 สูบ การปรับตั้งระยะห่างของหน้าทองขาวถูกต้องตามมาตราฐาน มุมดแวลจะอยู่ในค่าประมาณ 46-58 องศา
มุมดแวลจะสัมพันธ์กันระหว่างระยะห่างของหน้าทองขาว
เมื่อหน้าทองขาวห่างมากเกินไป(point gap too wide) เป็นผลให้มุมดแวลมีค่าน้อย
เมื่อหน้าทองขาวห่างน้อยเกินไป(point gap too small) เป็นผลให้มุมดแวลมีค่ามาก
มุมดแวลน้อยเกินไป(dwell angle too small) จะทำให้ระยะเวลาที่หน้าทองขาวปิดสั้นทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดปฐมภูมิมีเวลาน้อยลงเมื่อความเร็วรอบของเครื่องยนต์เพิ่มมากขึ้น กระแสไฟฟ้าวงจรปฐม๓ฒิจะมีไม่เพียงพอและทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรทุติยภูมิลดลงจังหวะจุดระเบิดก็จะผิดพลาด
มุมดแวลมากเกินไป(dwell agle too large) ระยะห่างหน้าทองขาวจะแคบลงเกิดประกายไฟได้ง่ายเมื่อหน้าทองขาวเริ่มเปิด กระแสไฟไหลผ่านหน้าทองขาวได้ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่ถูกตัดวงจรอย่างทันทีทันใดแรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรทุติยภูมิจะเกิดขึ้นน้อยจังหวะการจุดระเบิดจะผิดพลาดเช่นกัน
คอนเดนเซอร์ (condenser)
ติดตั้งอยู่ด้านนอกข้างจานจ่ายต่อขนานกับหน้าทองขาวจะเก็บประจุไฟฟ้าเมื่อหน้าทองขาวเปิด เพื่อให้การตัดวงจรในขดลวดปฐมภูมิอย่าทันทีทันใดและให้เกิดประกายไฟที่หน้าทองขาวน้อยที่สุด และเมื่อหน้าทองขาวปิดคอนเดนเซอร์ก็จะคายประจุไฟฟ้าให้กับวงจร
การเลือกใช้คอนเดนเซอร์จะต้องเลือกขนาดความจุให้เหมาะสมกับระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์ การใช้คอนเดนเซอร์ที่มีค่าความจุน้อยเกินไปจะทำให้เนื้อโลหะของหน้าทองขาวด้านบวกนูนออกมาและทางด้านลบเป็นหลุม ถ้าความจุมากเกินไปทำให้เนื้อโลหะของหน้าทองขาวทางด้านบวกเป็นหลุมและทางด้านลบนูนออกมา
โรเตอร์ (rotor)
ทำหน้าที่หมุนจ่ายแรงเคลื่อนไฟแรงสูงที่รับมาจากคอยล์จุดระเบิดไปยังฝาครอบจานจ่ายตามจังหวะการจุดระเบิดของเครื่องยนต์
ฝาครอบจานจ่าย (distributor cap)
มีรูตรงจุดกึ่งกลางด้านในติดตั้งแท่งคาร์บอนและะรอบ ๆ ฝาจานจ่ายจะมีรูสายหัวเทียนรับแรงเคลื่อนไฟแรงสูงจากตัวโรเตอร์ ระยะห่างระหว่างสะพานไฟของตัวโรเตอร์กับขั้วไฟของฝาครอบจานจ่ายประมาณ 0.8 มม.(0.031 นิ้ว)
การทำงานของระบบจุดระเบิด
ระบบจุดระเบิดทรานซิสเตอร์
แบบกึ่งทรานซิสเตอร์ ยังใช้หน้าทองขาว คอนเดนเซอร์ แต่มีทรานซิสเตอร์มาช่วยจุด
แบบทรานซิสเตอร์ล้วน ไม่มีทองขาวและคอนเดนเซอร์
เครื่องกำเนิดสัญญาณ ประกอบด้วย แม่เหล็ก ขอลวดกำเนิดสัญญาณ และโรเตอร์กำเนิดสัญญาณ
ชุดช่วยจุดระเบิด ประกอบด้วย ตัวตรวจจับสัญญาณ ภาคขยายสัญญาณ ทรานซิสเตอร์กำลัง การควบคุมมุมดแวล จะควบคุมระยะเวลาที่กระแสไฟไหลผ่านขดลวดปฐมภูมิและรักษาให้กระแสไหลคงที่ตลอดเวลาจากความเร็วรอบต่ำถึงรอบสูง
อุปกรณ์จุดระเบิดแบบรวม เป็นอุปกรณ์จุดระเบิดที่ชุดช่วยจุดระเบิดและคอยล์จุดระเบิดรวมเข้าด้วยกันในชุดจานจ่าย
ระบบจุดระเบิดแบบ CDI ประกอบด้วย ชุดกำเนิดสัญญาณ ขดลวดกำเนิดสัญญาณ ชุดขยายสัญญาณ ชุดแปลงไฟกระแสตรงจากแรงเคลื่อนกระแสต่ำเป็นแรงเคลื่อนไฟสูงและตัวไทริสเตอร์
การควบคุมการจุดระเบิดล่วงหน้า
จังหวะการจุดระเบิดมีความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับให้สัมพันธ์กับความเร็วรอบของเครื่องยนต์ และภาระ ในระบบจุดระเบิดใช้กลไกควบคุมการจุดระเบิดล่วงหน้า 2 แบบคือ แบบสุญญากาศ และแบบกลไกอัตโนมัติหรือแรงเหวี่ยงหนีศูนย์
กลไกปรับค่าออกเทน
ถ้าใช้น้ำมันเชื้อเพลิงค่าออกเทนต่ำ อุณหภูมิในการจุดระเบิดของน้ำมันเชื้อเพลิงก็จะต่ำกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงค่าออกเทนปกติ
ถ้าใช้น้ำมันเชื้อเพลิงค่าออกเทนสูง อุณหภูมิในการจุดระเบิดจะสูงกว่าเมื่อใช้น้ำมันเชื้อเพลิงค่าออกเทนปกติ
ฉะนั้นเมื่อใช้น้ำมันเชื้อเพลิงค่าออกเทนต่ำจังหวะการจุดระเบิดจะเกิดขึ้นก่อน TDC เล็กน้อย และเมื่อใช้น้ำมันเชื้อเพลิงค่าออกเทนสูงจังหวะการจุดระเบิดจะเกิดขึ้นก่อน TDC มากขึ้น การปรับค่าออกเทนเป็นการปรับค่าที่ละเอียดเพื่อหาจังหวะการจุดระเบิดที่ถูกต้องเพื่อให้จังหวะการจุดระเบิดเหมาะสมกับค่าออกเทนของน้ำมันเชื้อเพลิง ปุ่มปรับตั้งค่าออกเทน 1 รอบ จะทำให้จังหวะการจุดระเบิดเปลี่ยนแปลงไปล่วงหน้าหรือล่าช้าประมาณ 4 องศา
หัวเทียน (sprak plug)
ทำหน้าที่จุดประกายไฟทำให้ไอดีเกิดการเผาไหม้ การเลือกใช้หัวเทียนที่ถูกต้องกับสภาพการใช้งานจะเป็นผลให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุณหภูมิของหัวเทียน(heat value)
หัวเทียนร้อน คือหัวเทียนที่ระยะทางระบายความร้อนจากเขี้ยวหัวเทียนถึงปลายล่างฉนวนยาว ความร้อนจึงสะสมอยู่ในตัวได้มาก ใช้สำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยความเร็วต่ำระยะเวลาในการทำงานช่วงสั้น ๆ
หัวเทียนมาตราฐาน คือหัวเทียนที่มีขีดความร้อนปานกลาง เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยความเร็วปานกลาง
หัวเทียนเย็น คือหัวเทียนที่มีระยะทางระบายความร้อนจากเขี้ยวหัวเทียนถึงปลายล่างฉนวนสั้นความร้อนระบายได้เร็ว ใช้สำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงหรือใช้วิ่งทางไกล
การตั้งระยะห่างของเขี้ยวหัวเทียน ให้ค่าถูกต้องต้องใช้ฟิลเลอร์เกจแบบลวดกลม ค่ามาตราฐาน 0.6 - 0.8 มม.(0.024 - 0.031 นิ้ว)
การใส่หัวเทียน ต้องขันด้วยมือก่อนเพื่อป้องกันการปีนเกลียว
การเลือกใช้หัวเทียนที่ถูกต้อง เลือกใช้เบอร์ให้ถูกต้องกับสภาพการใช้งาน
การสังเกตสีและลักษณะของหัวเทียน
มีสภาพสีดำแห้ง สามารถเช็ดออกได้ง่าย แสดงว่าส่วนผสมหนา
มีสภาพน้ำมันเครื่องเปียก แสดงว่าลูกสูบ กระบอกสูบ แหวนลูกสูบสึกหรอ
มีสภาพไหม้กร่อน แสดงว่าเครื่องยนต์ทำงานที่อุณหภูมิสูงเกินไป อาจใช้หัวเทียนผิดเบอร์
มีสภาพสีขาวจับหรือสีเหลืองจับ แสดงว่าไฟอ่อนเปลี่ยนหัวเทียนให้ร้อนขึ้น
โค้ดของหัวเทียน
BP6ES
อักษรตัวแรกจะบอกขนาดความโตของเกลียว
อักษรตัวที่ 2 จะบอกลักษณะโครงสร้าง
ตัวเลข จะบอกค่าความร้อน มากจะเย็น น้อยจะร้อน
อักษรหลังตัวเลขตัวแรก จะบอกความยาวของเกลียว
อักษรหลังตัวเลขตัวที่ 2 จะบอกลักษณะโครงสร้างพิเศษ
s: แกนกลางเป็นทองแดง
C : ใช้กับเครื่องยนต์ความเร็วสูง
N : ใช้กับรถแข่งมีเขี้ยวงอเป็นนิเกิล
M : ชนิดแกนสั้น
A : แบบ 2 เขี้ยวใช้กับเครื่องยนต์โรตารี่
R : ชนิดมีรีซิสเตอร์ที่แกนกลางของหัวเทียน
Hiachi L46PW
L = ความยาวของเกลียว
4 = ความโตของเกลียว
6 = ค่าความร้อน มากร้อน น้อยเย็น
P = ลักษณะโครงสร้าง
W = แกนกลางเป็นทองแดง
Champion N9Y
N = ความยาวของเกลียว
9 = ค่าความร้อน มากร้อน น้อยเย็น
Y = ลักษณะโครงสร้าง
ปัญหาข้อขัดข้องของระบบจุดระเบิด
ถอดสายไฟแรงสูงระหว่างคอยล์กับฝาจานจ่ายออกจี้สายไฟแรงสูงห่างจากกราวด์ประมาณ 10-15 มม.(0.5 นิ้ว)หมุนเครื่องและตรวจเช็คประกายไฟ ถ้าไม่มีประกายไฟตรวจวงจรปฐมภูมิ
วัดค่าความท้านทานถ้าสายแบบคาร์บอนวัดได้ 25 กิโลโอมห์หรือมากกว่าเปลี่ยนสายใหม่ ขั้วสายเป็นสนิมทำความสะอาด
ตรวจเช็คแรงเคลื่อนเมื่อเครื่องยนต์หมุนถ้าน้อยกว่า 8 โวลต์ แรงเคล่อนไฟฟ้าต่ำเกินไป
ตรวจขั้วสายของวงจรปฐมภูมิ จุดต่อต่าง ๆ ผิดพลาด
วัดความต้านทานของคอยล์จุดระเบิดไม่ขาดหรือลัดวงจร
ตรวจเช็คหน้าทองขาวไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ
ตรวจเช็คฝาครอบจานจ่าย
ตรวจสอบหัวเทียน
ตรวจมุมดแวล
เช็คจังหวะจุดระเบิด